ป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ยุงลายอาศัยอยู่ในบ้านและบริเวณรอบๆบ้าน มักกัดคนในเวลากลางวัน พบผู้ป่วยไข้เลือดออกได้ทุกเพศทุกวัยและทุกภาคของประเทศไทย
อาการ
มีไข้สูงลอย ประมาณ 2-7 วัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ส่วนใหญ่มีอารการหน้าแดง อาจมีจุดเล็กๆตามลำตัวแขน ขา มักมีอาการคลื่อนไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายดำ และเบื่ออาหาร
การดูแลตัวเองเบื้องต้น
- ควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที
- ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวลดไข้
- ใช้ยาลดไข้พาราเซตามอล ห้ามใช้ยาแอสไพริน เพราะอาจทำให้เลือดออกได้ง่าย
- ให้ดื่มน้ำผลไม้ หรือน้ำตาลเกลือแร่บ่อยๆ
- ระวังอย่าให้ยุงกัดในเวลากลางวัน ให้นอนกางมุ้ง หรือทายากันยุง
- กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันโรคไข้เลือดออก เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย ขอความร่วมมือประชาชนในเขตเทศบาล ช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายในภาชนะที่มีน้ำขังทุกสัปดาห์ เพื่อตัดวงจรการเกิดยุงลาย ซึ่งก่อให้เกิดโรคไข้เลือดออก โดยการรณรงค์ให้กับประชาชนมีพฤติกรรมการเก็บ 3 เก็บ คือ เก็บให้เกลี้ยงไม่เลี้ยงยุงลาย และ 5ป. 1ข. ปราบยุงลาย
เก็บ 3 เก็บ
เก็บที่ 1 เก็บขยะ เศษภาชนะขังน้ำแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย วัสดุที่เหลือใช้นำไปขายเป็นรายได้เสริม
เก็บที่ 2 เก็บบ้าน ให้ปลอดโปร่งยุงลายไม่เกาะพัก ขัดล้างคว่ำภาชนะใส่น้ำ เปลี่ยนน้ำในแจกันทุกสัปดาห์
เก็บที่ 3 เก็บน้ำ น้ำกินน้ำใช้เก็บให้มิดชิด โดยการเปิดฝาโอ่ง ถัง ไม่ให้ยุงลายลงไปวางไข่
5ป. 1ข.
1.ปิด ปิดภาชนะขังน้ำให้มิดชิด ป้องกันยุงลายลงไปวางไข่
2. เปลี่ยน เปลี่ยนน้ำในแจกัน ถังเก็บน้ำเปลี่ยนน้ำทุกๆ 7 วัน เพื่อตัดวงจรลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุง
3.ปล่อย ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะใส่น้ำถาวร เช่นปลาหางนกยุง ปลากัด ปลากระดี่
4.ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ปลอดโปร่ง โล่ง สะอาด ลมพัดผ่าน ไม่เป็นที่เกาะพักของยุงลาย
5.ปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นนิสัย และ 1ข. ขัดภาชนะที่มีน้ำขัง เช่นโอ่งน้ำ เพื่อกำจัดไข่ยุงที่เกาะในภาชนะที่มีน้ำขัง

